ในญี่ปุ่นตั้งแต่สมัยโบราณใน 1 ปีของระบบสุริยคติจะแบ่งออกเป็นสี่ฤดูกาล
ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว
นอกจากนี้ในแต่ละฤดูก็ยังมีการแบ่งย่อยออกเป็น 6 ส่วนอีกด้วย
ซึ่งในปัจจุบันยังคงมีคำศัพท์ที่ใช้เพื่อแสดงถึงช่วงฤดูกาลต่าง ๆ เช่น
ริชชุง (วันเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิ)
ชุนบุง (วันที่เวลากลางวัน และกลางคืนเท่ากัน)
เกชิ (เป็นวันในฤดูร้อนที่มีกลางวันนานกว่ากลางคืน)
ริชชู (เป็นวันที่ฤดูใบไม้ร่วงเริ่มต้น)
ไดกัง (ช่วงเวลาที่หนาวที่สุด)
เราจะเรียกจุดเปลี่ยนของระบบสุริยคติว่า “เซตสึบุง”
ซึ่งในปัจจุบันถ้าพูดถึง “เซตสึบุง” ก็จะหมายถึงวันก่อนเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลินั่นเอง
ส่วน “ริชชุง” ก็คือวันแรกของฤดูใบไม้ผลิตามปฏิทิน
ซึ่งถือเป็นฤดูแรกของ “24 ฤดูลักษณ์ในระบบสุริยคติ”
สำหรับปีนี้ “ริชชุง” ตรงกับวันที่ 4 กุมภาพันธ์
ดังนั้น “เซตสึบุง” ก็คือวันที่ 3 กุมภาพันธ์
ในตอนพลบค่ำของวัน “เซตสึบุง” จะมีวัฒนธรรมปาถั่วในบ้าน
เพื่อขับไล่ความรู้สึกไม่ดี (ความชั่วร้ายและปีศาจ)ให้ออกจากบ้านไป
ปีนี้ก็เช่นกัน ปาถั่วแล้วตะโกนว่า“โอนิ วะ โซโตะ! ฟุคุ วะ นากะ”(ปีศาจร้ายออกไป! ความโชคดีเข้ามา!)
อยากจะปาไล่ไวรัสออกไปให้หมดไปเลย